วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    สิ่งแวดล้อม หมายถึง อะไร?
           สิ่งแวดล้อม หมยถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น



องค์ประทางกายภาพกอบของสิ่งแวดล้อม 
             
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3  ประการดังนี้           
                  1.   ลักษณะภูมิประเทศ
                  2.   ลักษณะภูมิอากาศ
                  3.  ทรัพยากรธรรมชาติ  
ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ
            1.  พลังงานภายในเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกผันแปร  บีบอัดให้ยกตัวสูงขึ้น  กลายเป็นภูเขาที่ราบสูง  หรือทรุดต่ำลง  เช่น เหว  แอ่งที่ราบ
             2.  ตัวกระทำทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกเกิดการสึกกร่อนพังทลายหรือทับถม  ได้แก่  ลม  กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง
             3.   การกระทำของมนุษย์  เช่น  การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน   การตัดถนนเข้าไปในป่า  ทำให้ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆเปลี่ยนไปจากเดิม
ความสำคัญของลักษณะภูมิประเทศ
          1.  ความสำคัญต่อมนุษย์  ลักษณะภูมิประเทศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน  การประกอบอาชีพของมนุษย์  เช่น  ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
            2.  ความสำคัญต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น  ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง  ย่อมมีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของท้องถิ่น  เช่น  ทำให้เกิดเขตเงาฝน
           3.   ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  เขตเทือกเขาสูง  ย่อมอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ  ป่าไม้และสัตว์ป่า
จาก : http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=49256&start=0 07/06/2008

สาเหตุของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเวดล้อม

1.ความไม่สมบูรณ์กับจำนวนประชากร
2.การตัดต้นไม้ทำลายป่า
ทรัพยากรธรรมชาติ
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และแทคโนโลยีการใช้ขวานตัดไม้ ทำให้ป่าไม้ถูกทำลายอย่างรวดเร็วทรัพยากรหลายอย่างถูกใช้โดยไม่คุ้มค่าและใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย ไม่เห็นคุณค่าความสำคัญและบางแห่งก็ถูกทำลายไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาลของมนุษย์ เช่น การบุกลุกทำลายพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อนำมาทำฟาร์มเลี้ยงกุ้ง การกำกับดูแลที่ด้วยประสิทธิภาพของหน่วยงานรัฐ
อาจจะเห็นว่าปัญหานี้เป็นเรื่องท่ไม่เร่งด่วน ขาดแคลนเครื่องมือเครื่องใช้ บุคลากรที่จะมาปฏิบัติงานอย่างทั่วถึง รวมทั้งปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่มีความซับซ้อน และเกิดทั่วทุกที่ การแก้ปัญหาจึงทำได้ยากลำบาก

1.ทรัพยากรดิน ดินเกิดจากการย่อยสลายผุพังของหินผสมรวมกับอินทรียวัตถุ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่ต้องอาศัยเวลา ดินในแต่ภูมิประเทศจะมีสมบัติ
2.ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้เป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์รวมถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น
จุลินทรีย์ ป่าไม้จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลายและสำคัญไม่น้อยกว่าธรรมชาติสิ่งมี
ชีวิตที่อาศัยในป่าไม้จะแตกต่างกัน
3.สัตว์ป่า เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับป่าไม้รองจากต้นไม้ปัจจุบันมีการนำสัตว์ป่ามาใช้เป็นดัชนีวัดค่าความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ คือ ถ้าป่าไม้ที่ได้พบสัตว์ป่ามาก
แสดงว่าป่าไม้ที่นั้นมีความดุอมสมบูรณ์


ผลกระทบที่เกิดจากปัณหาสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบเมื่อก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ถูกทำลาย
     เมื่อก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ถูกทำลาย  จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง 2 กรณี  คือ
    1.  พลังงานความร้อนบนพื้นโลกมากขึ้น
    2.  รังสีอัลตราไวโอเลตในช่วงคลื่นซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตผ่านลงมาถึงพื้นโลกมากขึ้น
 จากกรณีทั้งสองดังกล่าว  จะมีผลกระทบต่อภูมิอากาศได้หลายอย่าง  เช่น
    1.  ความร้อนอาจจะทำให้น้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกได้ละลายมากขึ้น
    2.  ความร้อนจะทำให้น้ำในมหาสมุทรขยายตัว  ทำให้เกิดความแปรปรวนทางน้ำ
    3.  จากการรับรังสีอัลตราไวโอเลตเพิ่มขึ้นจึงทำให้พืชชั้นต่ำ  เช่น  แพลงก์ตอน  สาหร่าย ไดอะตอม  ยูกลีนอยด์เกิดการกลายพันธุ์ (mutation) ได้  ส่วนใบพืชชั้นสูงจะมีการสังเคราะห์แสงลดลง  เพราะเซลล์คลุมรอบปากใบ  (guard cell)  ได้รับอันตรายจากแสง  จะปิดปากใบจนวัตถุดิบไม่สามารถผ่านเข้าไปในใบได้เช่นเดิม  จึงเป็นเหตุทำให้การสังเคราะห์แสงลดลง
    4.  รังสีอัลตราไวโอเลต  จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ หรือเกิดโรคมะเร็งขึ้นที่เปลือก ตาและอวัยวะสืบพันธุ์  เช่น  แกะและม้า  ถึงแม้จะมีขนห่อหุ้มร่างกายซึ่งจะช่วยลดอันตรายลงได้ก็ตามแต่ในอวัยวะซึ่งขาดเม็ดสี (melanin) เช่น  เปลือกตาและอวัยวะสืบพันธุ์  ถ้าได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตต่อเนื่องในระยะยาวก็อาจทำให้ตาเปื่อย หรือเกิดโรคมะเร็งที่ตาและอวัยวะสืบพันธุ์ได้
    5.  สำหรับมนุษย์นั้น  ได้ใช้รังสีอัตราไวโอเลตเมื่ออยู่พอควรในการเปลี่ยนสารที่ผิวหนังให้ เป็นวิตามินดีสาม  ซึ่งป้องกันโรคกระดูกอ่อนและฟันผุ  แต่ถ้าได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตมากไป  เช่น  ผู้ที่อาบแดดเป็นประจำ หรือชาวไร่ชาวนาที่ต้องตากแดดเป็นประจำ  จะทำให้มีผิวกร้านหนาเพราะเซลล์แบ่งแยกตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น  นอกจากนั้นผิวจะมีรอยย่นสีคล้ำหรือจาง  ทำให้ดูแก่เกินวัยและในที่สุดอาจเกิดมะเร็งที่ผิวหนัง  คนผิวคล้ำเช่นชาวเอเซีย และชาวแอฟริกามีเม็ดสีอยู่ในผิวมากสามารถสะท้อนและดูดซึมรังสีส่วนเกินได้ดีกว่าคนผิวขาว  ดังนั้นจึงเกิดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตต่อคนผิวขาวมากกว่าคนผิวคล้ำ
     สำหรับดวงตาที่รับแสงแดดกล้าเกินไปในระยะยาว  จะเกิดเนื้อติ่งที่หัวตา และเป็นมะเร็งที่เยื่อบุชั้นนอกของนัยน์ตาหรือเป็นต้อกระจกได้










ผลกระทบต่อโลกเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น

     โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme-UNEP)  ได้รายงานเกี่ยวกับปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศดังนี้
  • ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18  มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 270-290  ส่วนในล้านส่วน
  • ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20  มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 345-350 ส่วนในล้านส่วน
  • ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20  คาดว่าปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า



ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือOikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย,แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตLogos แปลว่า เหตุผล, ความคิด== ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ ==สิ่งมีชีวิต (Organism)หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้1. ต้องมีการเจริญเติบโต2. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย3. สืบพันธุ์ได้ 4. ประกอบไปด้วยเซลล์5. มีการหายใจ6. มีการขับถ่ายของเสียต่างๆ7. ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆประชากร (Population)หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกันกลุ่มสิ่งมีชีวิต


ความสำคัญระหว่างมนุษย์ต่อระบบนิเวศ

การดำรงอยู่ของมนุษย์นั้นจะต้องอยู่ภายใต้ระบบนิเวศซึ่งอาจจะเป็นระบบเดียว
หรือหลายระบบในบริเวณหนึ่งบริเวณใด ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยมนุษย์ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตอันได้แก่สิ่งมีชีวิตที่หลากหลายหรือชีวาลัย
สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตซึ่งได้แก่ พื้นดิน น้ำและอากาศ และ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น



ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
                 ปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของชีวิตคือสสารและพลังงาน  ซึ่งไม่มีชีวิตใดสร้างขึ้นมาได้ด้วยตนเอง  ที่มาของสสารและพลังงานมาจากสิ่งแวดล้อม  ในขณะเดียวกันชีวิตก็ไม่สามารถเก็บสสารและพลังงานนั้นเอาไว้ในตัวได้ตลอดเวลา  ดังนั้นชีวิตจึงจำเป็นต้องถ่ายเทสสารและพลังงานออกจากตัวซึ่งก็เข้าสู่สิ่งแวดล้อมอีกเช่นกัน  ดังนั้นชีวิตทั้งมวลซึ่งรวมถึงมนุษย์จึงไม่สามารถดำรงอยู่โดยปราศจากสิ่งแวดล้อมที่จะรองรับการถ่ายเทสสารและพลังงานเอาไว้  นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมยังเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ชีวิตต่างๆ  ต้องมีการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด  ซึ่งมีผลต่อการวิวัฒนาการของชีวิตในที่สุด



ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ
เมื่อพิจารณาในระบบย่อยลงมาจากจักรวาล ก็สามารถมองเห็นอย่างประจักษ์ชัดว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันในระบบองค์รวม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในท่ามกลางความหลากหลาย สรรพสิ่งต่าง ๆ ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน โดยมีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มิใช่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ตามที่เคยคิดและเข้าใจกันมาแต่ก่อน มนุษย์จึงต้องทำตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของโลกธรรมชาติมนุษย์ในปัจจุบันนอกจากจะทำตัวแปลกแยกไปจากธรรมชาติแล้ว ยังเป็นตัวการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย

จากhttp://www.baanjomyut.com/library/2552/peace_and_peace/03.html


อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

ในสมัยก่อนที่ประชากรของมนุษย์บนโลกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยนั้น การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีให้มีความเป็นอยู่สุขสบายดี การบุกรุกสภาพสมดุลของธรรมชาติจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง

ปัจจุบันนี้มนุษย์มักจะทำให้ระบบนิเวศในโลกนี้เป็นระบบนิเวศที่ธรรมดา โดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบันได้พยายามลดระดับต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารให้เหลือน้อยที่สุด โดยการกำจัดพืชและหญ้าหลายชนิดไปเพื่อพืชชนิดเดียว เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวโพด ซึ่งทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความมั่นคงระบบนิเวศลดน้อยลง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น โอกาสที่ระบบนิเวศจะถูกทำลายก็จะมีมาก